คำอธิบายของรายวิชา
หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ อันประกอบด้วยนิยาม ประพจน์ การใช้สัญลักษณ์แสดงกฏเกณฑ์ทางอ้างเหตุผล การพิสูจน์ความหมายและคุณสมบัติทั่วไปของการปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เวกเตอร์ การบวก การลบ ผลคูณสเกลาร์และผลคูณเวกเตอร์ การแก้ระบบสมการเชิงเส้น ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ และการอินทิเกรตฟังก์ชันพีชคณิต
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. เพื่อศึกษาประพจน์และการอ้างเหตุผล 2. เพื่อศึกษาการหาค่าลิมิตและทดสอบความต่อเนื่องของฟังก์ชัน 3. เพื่อศึกษาวิธีการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันรูปแบบต่างๆ 4. สามารถนำอนุพันธ์ไปประยุกต์ใช้ได้ |
5. เพื่อศึกษาวิธีการหาค่าอินทิกรัลรูปแบบต่างๆ 6. เพื่อศึกษาเทคนิคการอินทิเกรตหาค่าอินทิกรัลของฟังก์ชันก์พีชคณิต 7. เพื่อนำการอินทิเกรตไปประยุกต์ใช้ได้ 8. เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูงต่อไป |
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
1. เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. เพิ่มเติมเนื้อหามุ่งให้เกิดการคิดวิเคราะห์และมีทักษะในการแก้ปัญหามากขึ้น อันจะนำไปสู่
พื้นฐานของความคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
แผนการสอน
ครั้ง/สัปดาห์ ที่ |
หัวข้อ/รายละเอียด |
ชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์ |
กิจกรรมการสอน |
สื่อที่ใช้ใน การสอน |
อาจารย์ผู้สอน |
||
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
||||||
1-3
|
บทที่ 1 ตรรกศาสตร์ 1.1 ประพจน์ 1.2 ตัวเชื่อมทางตรรก ศาสตร์ 1.3 สัจนิรันดร์และความ เท็จโดยรูปแบบ 1.4 การสมมูลเชิงตรรก ศาสตร์ 1.5การอ้างเหตุผล |
9 |
|
- แนะนำการเรียนการสอนข้อตกลงและระเบียบวิธีปฏิบัติในชั้นเรียน - บรรยายหลักการทางทฤษฎีพร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย - ทำแบบฝึกหัด |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
4-5 |
บทที่ 2 เวกเตอร์ 2.1 พีชคณิตเวกเตอร์ 2.2 เวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ 2.3 ผลคูณเชิงสเกลาร์ 2.4 ผลคูณเชิงเวกเตอร์ |
6 |
|
- บรรยายหลักการทาง ทฤษฎีและยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย - ทำแบบฝึกหัด |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
6-7 |
บทที่ 3 ระบบสมการเชิงเส้น 3.1 ผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น 3.2 เมทริกซ์ผกผัน 3.3 ตัวกำหนด 3.4 กฎของคราเมอร์ |
6 |
|
- บรรยายหลักการทางทฤษฎีและยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย -ทำแบบฝึกหัด - ทดสอบย่อย |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
8 |
สอบกลางภาค |
||||||
9-11 |
บทที่ 4 ลิมิตและความต่อเนื่อง 4.1 ลิมิตของฟังก์ชัน 4.2 ลิมิตด้านเดียว 4.3 ความต่อเนื่อง
|
9 |
|
- บรรยายหลักการทางทฤษฎีและยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย - ทำแบบฝึกหัด - ทดสอบย่อย |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
12-14 |
บทที่ 5 อนุพันธ์ฟังก์ชัน 5.1 ความหมายของอนุพันธ์ 5.2 อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต 5.3 กฏลูกโซ่ 5.4 อนุพันธ์อันดับสูง |
9 |
|
- บรรยายหลักการทางทฤษฎีและยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย - ทำแบบฝึกหัด - ทดสอบย่อย |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
15-16 |
บทที่ 6 การอินทิเกรต 6.1 อินทิกรัลไม่จำกัดเขต 6.2 การอินทิเกรตโดยการแทนค่า |
6 |
|
1. บรรยายทฤษฎี 2. อธิบายวิธีคำนวณ 3. มอบหมายแบบฝึกหัด |
Power point เอกสารประกอบ การบรรยาย |
ผศ.สมใจ ธวัชผ่องศรี |
|
17-18 |
สอบปลายภาค |
เอกสารและข้อมูลแนะนำ
1.ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง และศรีบุตร,คณิตศาสตร์วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์,สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าพระนครเหนือ,กรุเทพฯ
2. มงคล ทองสงคราม, แคลคูลัส 1, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัทรามาการพิมพ์จำกัด, กรุงเทพฯ.
3. มงคล ทองสงคราม, แคลคูลัส 2, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัทรามาการพิมพ์จำกัด, กรุงเทพฯ.
4. สุกัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุทธ, แคลคูลัส 1, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด, กรุงเทพฯ,2545
- Teacher: สมใจ ธวัชผ่องศรี