หลักการทำงาน ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ การออกแบบวงจรควบคุมและวงจรกำลัง การเขียนรหัสอุปกรณ์และแผนภาพการทำงานของวงจรนิวเมติกส์ การออกแบบวงจรนิวเมติกส์แบบแยกสัญญาณควบคุมและไฟฟ้าควบคุม หลักการเบื้องต้นในการนำ PLC (Programable Logic Control) มาใช้ในการควบคุมระบบนิวเมติกส์ ปฏิบัติการในห้องตามหัวข้อที่เรียน

           แนวคิดและหลักการทำงานของส่วนประกอบทั่วไปในระบบเครื่องจักรกล หลักการผลิตชิ้นส่วนทางกลเบื้องต้นที่จำเป็นต่องานระบบการถ่ายทอดกำลังของเครื่องจักรกล การออกแบบชิ้นส่วนทางกลที่เกี่ยวข้องกับระบบขนถ่ายลำเลียงและระบบเครื่องจักรกลโดยใช้คัปปลิง เฟืองตรง เฟืองเฉียง เฟืองดอกจอก ชุดเฟืองหนอน รองเพลาแบริ่ง สายพานและโซ่ สกรูถ่ายทอดกำลัง เบรกและคลัตช์                       

           กลไก ขบวนเฟือง การขจัด ความเร็วและความเร่งในเครื่องจักรกล การวิเคราะห์แรงสถิตและแรงพลศาสตร์ การถ่วงสมดุลของมวลหมุนและมวลที่เคลื่อนที่ไปมา ผลของไจโรสโคปิก

           คุณสมบัติของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ(Feedback Control) วิธีการวิเคราะห์การตอบสนองเชิงเวลา (Transient-response analysis) และการตอบสนองในโดเมนความถี่ (Frequency response analysis) การแทนระบบด้วยการแทนระบบด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Models of Physical system) การวิเคราะห์หาเสถียรภาพของระบบควบคุม (Stability Analysis) เส้นทางเดินของราก (Root-locus technique) การแปลงลาปลาซ (The Laplace transform) พื้นฐานการใช้ Computer simulation สำหรับงานควบคุมอัตโนมัติ        

ชนิดและพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ เช่น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พล้งงานลม พล้งงานน้ำ เชื้อเพลิงชีวมวล ระบบความร้อนใต้พิภพ ระบบเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบการผลิตไฟฟ้า การเปลี่ยนรูปพล้งงานเบื้องต้น ระบบการกักเก็บพลังงาน การประเมินทางเศรษฐศาสตร์

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกลไกของเครื่องจักรกล นั่นคือการออกแบบ คัปปลิ้ง เฟืองตรีง เฟืองเฉียง เฟืองดอกจอก เฟืองหนอน ฯลฯ

เป็นรายวิชาระดับปริญญาตรี   สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล  คณะวิศวกรรมศาสตร์